วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2558

รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ GI
http://www.udontham.ac.th/index.php?option=com  ได้รวบรวมรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบGI ไว้ว่า กลุ่มสืบสวนสอบสวน  (Group Investigation : GI) กลุ่มสืบสวนสอบสวน  GI เป็นการเรียนแบบร่วมมือร่วมใจ ที่เน้นบรรยากาศการทำงานร่วมกันอย่างเป็นประชาธิปไตย โดยให้ความสำคัญกับประสบการณ์ ความสามารถ และความต้องการของผู้เรียน เมื่อมีการเรียนแบบ  Group Investigation  ครูผู้สอนจะแบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อย กลุ่มละ 5 – 6  คน หรือน้อยกว่านี้  แต่ละกลุ่มจะวางแผนกันเองว่าจะศึกษาหัวข้อใด และจะศึกษาอย่างไร  สมาชิกแต่ละคนหรือสมาชิก แต่ละคู่ในกลุ่มจะเลือกหัวข้อย่อย  และเลือกวิธีแสดงหาคำตอบในเรื่องนั้น ๆ  ด้วยตนเอง  หลังจากนั้นสมาชิกแต่ละคนหรือแต่ละคู่จะรายงานความก้าวหน้า และผลการทำงานในกลุ่มของตนเองทราบ  กลุ่มจะอภิปรายเกี่ยวกับการรายงานของสมาชิก  และจัดทำรายงานของกลุ่มให้เพื่อนทั้งชั้นฟัง ขั้นตอนสำคัญในการจัดกิจกรรมมี 6 ขั้นตอน ครูผู้สอนต้องพยายามปรับขั้นตอนทั้ง 6 นี้ ให้เหมาะสมกับผู้เรียน ทั้งในด้านพื้นฐาน อายุ ความสามารถ และเวลาที่มีอยู่ดำเนินการ ดังนี้     
1)   ขั้น Identifying the Topic and Organizing Pupils Groups
–   ครูผู้สอนเสนอปัญหาแก่นักเรียนทั้งชั้น แล้วให้นักเรียนช่วยกันเสนอ       สิ่งที่ตนอยากรู้เกี่ยวกับปัญหานี้
–   นักเรียนปรึกษาหารือกันเกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ  และเสนอหัวข้อให้แก่สมาชิกในชั้นทราบ  ทั้งชั้นช่วยกันกำหนดหัวข้อที่นักเรียนทั้งชั้นสนใจ
–   นักเรียนจัดกลุ่มเพื่อศึกษาเพียง 1 หัวข้อ
2)   ขั้น Planning the Investigation in Groups ครูผู้สอนและนักเรียนวางแผนร่วมกันเกี่ยวกับกระบวนการดำเนินงาน ภาระที่ต้องทำ และเป้าหมายของงานในแต่ละหัวข้อตามปัญหาที่เลือก  เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนในขั้นตอนที่ 2 ได้ผล  ครูผู้สอนอาจใช้คำถาม ดังนี้
–   ปัญหาที่กลุ่มเลือกทำคืออะไร
–   สมาชิกในกลุ่มได้แก่ใคร
–   กลุ่มต้องการศึกษาค้นคว้าอะไร
–   แหล่งความรู้ที่จะศึกษาคืออะไร
–   จะแบ่งงานกันอย่างไร
3)   ขั้น Carrying Out the Investigation ขั้นนี้เป็นขั้นที่นักเรียนใช้เวลาที่นานที่สุด นักเรียนดำเนินงานตามแผนการที่วางไว้ในขั้นที่  2  กิจกรรมและทักษะต่างๆ ที่นักเรียนต้องศึกษา
ควรมาจากแหล่งข้อมูลทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน  ครูผู้สอนให้ความช่วยเหลือกับกลุ่มตามความต้องการของกลุ่ม และคอยตักเตือนพฤติกรรมที่มีปัญหา เมื่อแต่ละคนหรือแต่ละคู่ทำเสร็จแล้วจะนำเสนอข้อมูลกับกลุ่มของตนเพื่อให้สมาชิกได้อภิปราย และหาข้อสรุปในแต่ละข้อ
4)   ขั้น Preparing Final Report นักเรียนแต่ละกลุ่มรวบรวมข้อมูลที่สมาชิก
ในแต่ละกลุ่มตนได้จัดทำ  ช่วยกันแก้ไขแล้วสรุปเป็นรายงายของกลุ่ม  เพื่อนำเสนอต่อนักเรียนทั้งชั้น สมาชิกช่วยกันเตรียมการเสนอรายงานให้น่าสนใจและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้การนำเสนอรายงานของกลุ่มย่อยมีประสิทธิภาพ   ครูผู้สอนควรแนะนำนักเรียนให้เตรียมพร้อมเกี่ยวกับ
–   การเน้นสาระสำคัญของการค้นคว้า
–   การบอกแหล่งความรู้หรือวิธีการที่กลุ่มศึกษา
–   เปิดโอกาสให้มีการซักถาม
–   พยายามให้นักเรียนในชั้นมีกิจกรรมร่วมด้วยไม่ควรให้นั่งฟังนานๆ
–   ให้ทุกคนในกลุ่มย่อยมีส่วนช่วยในการนำเสนอผลงาน
–   คำนึงถึงอุปกรณ์ และวัสดุที่จำเป็นต้องใช้ในการนำเสนอผลงาน
5)   ขั้น Present the Final Report นักเรียนแต่ละกลุ่มเสนอผลงานในกลุ่ม
ของตน ให้สมาชิกในชั้นเรียนทราบตามที่เตรียมไว้ในขั้นที่  4  ควรให้นักเรียนในชั้นมีกิจกรรมร่วมด้วย เช่น การถามปัญหา  การทำกิจกรรมที่ผู้รายงานกำหนดให้ทำ
6)   ขั้น Evaluating Achievement  ครูผู้สอนและนักเรียนประเมินผลการรายงานกลุ่มย่อย  และประเมินงานรวมของทั้งชั้น   การประเมินนี้รวมถึงการประเมินเป็นรายบุคคลด้วย ซึ่งสิ่งที่ควรประเมินได้แก่
–   ความสามารถในการคิดระดับสูง
–   วิธีการที่ใช้ในการศึกษา
–   การประยุกต์ใช้ความรู้
–   การใช้หลักฐานอ้างอิง
–   วิธีการที่ใช้ในการสรุปข้อมูล
   ครูผู้สอนควรมีการประเมินผลด้านจิตพิสัย เช่น  ความรู้สึกต่อเรื่องที่เรียน งานที่ทำ  แรงจูงใจ  และเจตคติที่มีต่อครูผู้สอน
   วิธีการที่ใช้ในการประเมิน ควรเป็นการประเมินแบบสะสม โดยดูวิธีการทำงานของนักเรียนแต่ละคนตั้งแต่เริ่มจนจบโครงการ และควรมีการแจ้งผลการประเมินให้นักเรียนทราบเป็นระยะ ๆ
   นักเรียนควรได้รับ feedback จากเพื่อนนักเรียนเละครูผู้สอน
   การประเมินผลที่ใช้   ควรช่วยให้นักเรียนเกิดสัมฤทธิ์ผลด้านเนื้อหาและกระบวนการ  และช่วยพัฒนาความสามารถในการวางแผนการศึกษาเรื่องต่างๆ ที่จะมีอนาคตได้

ทิศนา แขมมณี (2548) ได้กล่าวไว้ว่า  “ G.I. ” คือ “ Group Investigation ” รูปแบบนี้เป็นรูปแบบที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนช่วยกันไปสืบค้นข้อมูลมาใช้ในการเรียนรู้ร่วมกัน โดยดำเนินการเป็นขั้นตอน ดังนี้
1 จัดผู้เรียนเข้ากลุ่มคละความสามารถ ( เก่ง-กลาง-อ่อน ) กลุ่มละ 4 คน
2 กลุ่มย่อยศึกษาเนื้อหาสาระร่วมกัน โดย
ก. แบ่งเนื้อหาออกเป็นหัวข้อย่อย ๆ แล้วแบ่งกันไปศึกษาหาข้อมูลหรือคำตอบ
ข. ในการเลือกเนื้อหา ควรให้ผู้เรียนอ่อนเป็นผู้เลือกก่อน
3 สมาชิกแต่ละคนไปศึกษาหาข้อมูล /คำตอบมาให้กลุ่ม กลุ่มอภิปรายร่วมกัน และสรุปผลการศึกษา
4 กลุ่มเสนอผลงานของกลุ่มต่อชั้นเรียน

http://www.budmgt.com/budman/bm01/learner.html ได้รวบรวมรูปแบบการเรียนการสอนแบบGI ไว้ว่า GI (Group Investigation) พัฒนาโดย Sharan และคณะ เป็นรูปแบบการเรียนแบบร่วมมือที่มีความซับซ้อนและกว้างมาก ปรัชญาของรูปแบบ GI ก็คือต้องการปลูกฝังการร่วมมือกันอย่างมีประชาธิปไตย มีการกระจายภาระงานและสิทธิในการแสดงความคิดเห็นที่เท่าเทียมกันของสมาชิกในกลุ่ม GI มีการกระตุ้นบทบาทที่แตกต่างกันทั้งภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่ม
แนวคิดในการจัดการเรียนการสอน
1. นักเรียนแต่ละคนจะได้แสดงความสามารถของตน ในการแสวงหาความรู้ (หรือในการทำงาน)
2. นักเรียนแต่ละคน ต้องถ่ายทอดความรู้หรือวิธีการทำงานให้เพื่อนนักเรียนเข้าใจด้วย
3. ทุกคนต้องร่วมแสดงความคิดเห็น อภิปรายซักถามจนเข้าใจในทุกเรื่อง(หรือทุกงาน)
4. ทุกคนต้องร่วมมือกันสรุปความเข้าใจที่ได้ (สูตรหรือความสัมพันธ์หรือผลงาน) นำส่งอาจารย์เพียง 1 ฉบับเท่านั้น
5. เหมาะกับการสอนความรู้ที่สามารถแยกเป็นอิสระได้เป็นส่วนๆ หรือแยกทำได้หลายวิธี หรือการทบทวนเรื่องใดที่แบ่งเป็นเรื่องย่อยๆ ได้ หรือการทำงานที่แยกออกเป็นชิ้นๆ ได้

GI มีองค์ประกอบอยู่ด้วยกัน 6 ประการ คือ

1. การเลือกหัวข้อเรื่องที่จะศึกษา (Topic Selection) นักเรียนเลือกหัวข้อที่เฉพาะเจาะจงของปัญหาที่เลือก แล้วกลุ่มจะแบ่งภาระงานออกเป็นงานย่อยๆ ที่มีสมาชิก 2-5 คนร่วมกันทำงาน
2. การวางแผนร่วมมือกันในการทำงาน (Cooperative Planning) ครูและนักเรียนวางแผนร่วมกันในวิธีดำเนินการ ภาระงานที่ทำ และเป้าหมายของงานในแต่ละหัวข้อย่อยตามปัญหาที่เลือก
3. การดำเนินงานตามแผนการที่วางไว้ (Implementation) นักเรียนดำเนินงานตามแผนการที่วางไว้ในขั้นที่ 2 กิจกรรมและทักษะต่างๆ ที่นักเรียนจะต้องศึกษาควรมาจากแหล่งข้อมูลทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน ครูจะให้คำปรึกษากับกลุ่มพร้อมกับติดตามความก้าวหน้าในการทำงานของนักเรียนและช่วยเหลือนักเรียนเมื่อเขาต้องการความช่วยเหลือ
4. การวิเคราะห์และสังเคราะห์งานที่ทำ (Analysis and Synthesis) นักเรียนวิเคราะห์และประเมินข้อมูลที่เขารวบรวมได้ในขั้นที่ 3 และวางแผนหรือลงข้อสรุปในรูปแบบที่น่าสนใจเพื่อนำเสนอต่อชั้นเรียน
5. การนำเสนอผลงาน (Presentation of Final Report) กลุ่มนำเสนอผลงานตามหัวข้อเรื่องที่เลือก ครูต้องพยายามให้นักเรียนทุกคนได้มีส่วนร่วมขณะที่มีการนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียนเพื่อเป็นการขยายความคิดของตัวนักเรียนเองให้กว้างไกล โดยเฉพาะในหัวข้อเรื่องที่กลุ่มไม่ได้ศึกษา ครูจะทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานในระหว่างการนำเสนอผลงาน
6. การประเมินผล (Evaluation) ครูและนักเรียนจะร่วมกันประเมินผลงานที่ถูกนำเสนอพร้อมทั้งแสดงความคิดเห็นที่มีต่อผลงานทุกชิ้น การประเมินผลอาจรวมทั้งการประเมินเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม
GI เป็นการเรียนแบบร่วมมือที่มอบหมายความรับผิดชอบอย่างสูงให้กับนักเรียน ในการที่จะบ่งชี้ว่าเรียนอะไรและเรียนอย่างไร ในการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์และตีความหมายของสิ่งที่ศึกษาโดยเน้นการสื่อความหมายและการแลกเปลี่ยนความคิดเป็นของกันและกันในการทำงาน
ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนใหญ่ๆ ดังนี้
1.การทบทวนและชี้แจง (5-10 นาที)
1.1 ครูและนักเรียนทบทวนความรู้เดิม หรือทักษะพื้นฐานที่จำเป็นที่ต้องทราบหรือสามารถจัดทำเป็นมาก่อน
1.2 ครูบอกจุดประสงค์ของการเรียนรู้ในคาบการสอนนี้
1.3 ครูอธิบายขั้นตอนของการปฏิบัติงานและวิธีการต่างๆ ของการเรียนแบบ GI
2.การมอบหมายงานและปฏิบัติงาน (10-15 นาที)
2.1 ครูจัดเตรียมใบงาน โดยแยกออกเป็น 4 ส่วน หรือ 4 วิธีตามความเหมาะสม (จัดแบ่งงานง่าย-ยาก) มอบให้แต่ละกลุ่มเหมือนกัน
2.2 ภายในกลุ่มจัดแบ่งงานตามความถนัด ความสามารถ (อ่อน-เก่ง)
2.3 แต่ละคนทำตามใบงานที่ได้รับมอบหมาย ให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนด
3.สรุปผลงาน (15-20 นาที)
3.1 แต่ละคนนำผลงานของตนเสนอต่อเพื่อนๆ ในกลุ่มตามลำดับ 1-4
3.2 อธิบายลักษณะงานที่ได้รับ การดำเนินงาน จนถึงสรุปที่ได้ (หรือผลงานที่ แล้วเสร็จ)
3.3 เพื่อนๆ สามารถร่วมอภิปรายหรือซักถาม แนวความคิด แนวการแก้ปัญหาหรือ เสนอความคิดเห็นอื่นๆ ได้ จนทุกคนเข้าใจแจ่มชัดในทุกงานครบถ้วน
3.4 จัดทำเป็นรายงานร่วมกันหรือผลงานร่วมกันส่ง 1 ชุด
4. การประเมินผล ทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับเวลาที่เหลือ เช่น
4.1 ให้นักเรียนนำผลงานมาเสนอหน้าชั้นเรียนหรือบนบอร์ด แล้วครูผู้สอนประเมิน หรือตั้งกรรมการนักเรียนมาช่วยประเมินผลงานของกลุ่มต่างๆ (นอกเวลาเรียน)
4.2 ครูเลือกนักเรียนคนใดก็ได้ในแต่ละกลุ่มมารายงานผลการทำงานทั้งหมด ทุกคนต้องพร้อมที่จะรายงานทั้งหมดได้
4.3 จากคะแนนที่ได้ ครูชมเชย หรือให้รางวัล หรือเก็บสะสมคะแนนไว้ สำหรับการจัดหา Super Team ประจำสัปดาห์ต่อไป

สรุป

กลุ่มสืบสวนสอบสวน  GI เป็นการเรียนแบบร่วมมือร่วมใจ ที่เน้นบรรยากาศการทำงานร่วมกันอย่างเป็นประชาธิปไตย โดยให้ความสำคัญกับประสบการณ์ ความสามารถ และความต้องการของผู้เรียน เมื่อมีการเรียนแบบ  Group Investigation  ครูผู้สอนจะแบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อย กลุ่มละ 5 6  คน หรือน้อยกว่านี้  แต่ละกลุ่มจะวางแผนกันเองว่าจะศึกษาหัวข้อใด และจะศึกษาอย่างไร  สมาชิกแต่ละคนหรือสมาชิก แต่ละคู่ในกลุ่มจะเลือกหัวข้อย่อย  และเลือกวิธีแสดงหาคำตอบในเรื่องนั้น ๆ  ด้วยตนเอง  หลังจากนั้นสมาชิกแต่ละคนหรือแต่ละคู่จะรายงานความก้าวหน้า และผลการทำงานในกลุ่มของตนเองทราบ  กลุ่มจะอภิปรายเกี่ยวกับการรายงานของสมาชิก  และจัดทำรายงานของกลุ่มให้เพื่อนทั้งชั้นฟัง ขั้นตอนสำคัญในการจัดกิจกรรมมี 6 ขั้นตอน ครูผู้สอนต้องพยายามปรับขั้นตอนทั้ง 6 นี้ ให้เหมาะสมกับผู้เรียน ทั้งในด้านพื้นฐาน อายุ ความสามารถ และเวลาที่มีอยู่ดำเนินการ

ที่มา

http://www.udontham.ac.th/index.php?option=com . วิธีการเรียนการสอนของรูปแบบ จี.ไอ. (G.I.).เข้าถึงเมื่อ20 สิงหาคม 2558

 ทิศนา แขมมณี . (2548). ศาสตร์การสอน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
http://www.budmgt.com/budman/bm01/learner.html . รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบGI.เข้าถึงเมื่อ 20 สิงหาคม 2558.